การสร้างแรงจูงใจด้วยหลักอิทธิบาท 4 Creating Incentives by Path of Accomplishment
- พระครูสมุห์ชินวรวัตร ถิรภทฺโท, ดร., ดร.ศิรวัฒน์ ครองบุญ, ดร.นันทนิษฎ์ สมคิด
- 2563
- บทความวิชาการ
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ด้านฉันทะ เป็นจุดเริ่มต้น ที่จะทำให้บุคลากรเกิดและมีความพอใจในหน้าที่รับผิดชอบและปฏิบัติอย่างเต็มกำลังความสามารถของตนเอง รักและพอใจที่จะได้รับพัฒนาตนเองเพื่อนำความรู้มาใช้ในหน้าที่ที่ตนกำลังปฏิบัติอยู่ กระตือรือร้นพร้อมที่จะให้มีการพัฒนาตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มีความพอใจที่จะมีการพัฒนาอยู่สม่ำเสมอ และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนางานและนโยบายขององค์กร มีการจัดการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกองค์กรอยู่เสมอ ด้านวิริยะ หลักการประกอบความเพียรชอบ บุคลากรมีความตื่นตัวพร้อมที่จะพัฒนาการทำงานอยู่ตลอดเวลา ฝึกฝนพยายามพัฒนาตนเองให้เกิดความชำนาญในหน้าที่ด้วยการเรียนรู้เพิ่มเติม ค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับงานที่ตนเองปฏิบัติอย่างเต็มศักยภาพ มีการจัดฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาการปฏิบัติงาน มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ด้านจิตตะ สร้างแรงจูงใจในการทำงาน มีระบบที่ตรวจสอบให้บุคลากรมีการเอาใจใส่ในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เมื่อเกิดปัญหาก็ หมั่นตรวจสอบหาข้อบกพร่องของตนเองเพื่อพัฒนางานของตนเอง ฝึกฝนตนเองให้มีความรู้พร้อมที่จะมาสนับสนุนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ โดยศึกษาหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆนำมาทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้านวิมังสา มีการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีการพัฒนาดียิ่งขึ้นไป ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้เพิ่มเติม หาวิธีการต่างๆ มาพัฒนาบุคลากรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ อดทนต่อปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ความสามารถของตนเองไตร่ตรองการทำงานที่ได้รับมอบหมายอยู่เสมอ โดยใช้กำลังสติปัญญาแสวงหาวิธีการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป
คำสำคัญ : การสรางแรงจูงใจ, อิทธิบาท ๔
Abstract
Chanda is the beginning which makes a personnel satisfied with his duties, take responsibility along with improve himself to support the duties. The personnel is motivated to be enthusiastic and satisfied to improve himself physically and mentally. According to Chanda, everyone in an organization is able to get an opportunity to develop works and policies in his organization. Viriya, diligence, makes the personnel always ready to improve his working, attempt to make professional expertise by extra learning, searching for more professional knowledge and training to improve himself continuously. Citta builds working motivation. The personnel can be investigated to maintain self-improvement when the problems approach. The personnel always searches for knowledge to support and to succeed in working from information sources. Vimamsa develops working of the personnel and supports extra learning along with other solutions which help increase working efficiency and be patient with problems during the working process. The personnel uses working ability and knowledge to contemplate the assignment and needs the intellect to find solutions of working process to be more efficient.
Keywords: building motivation, Iddhipada 4