พุทธเศรษฐศาสตร์: หลักเศรษฐศาสตร์การเมืองเพื่อการพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจที่ยั่งยืน Buddhist Economics: principles of political economics for community development and sustainable economy
- ศุภัทรา อำนวยสวัสดิ์, ดร.ศิรวัฒน์ ครองบุญ
- 2561
- บทความวิชาการ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอหลักพุทธเศรษฐศาสตร์การเมืองเพื่อการพัฒนา ประชาคมเศรษฐกิจ ระบบบริหารราชการแบบใหม่ อันเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางเศรษฐกิจเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพของระบบเศรษฐกิจ ตลอดถึงยุทธศาสตร์การสร้างความ เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความปรองดอง และสร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมสามารถเข้าถึง ทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบสัมมาอาชีพ เพื่อยกระดับรายได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งประชาคม เพื่อให้เกิดการรวมตัว และร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ เอื้อให้เกิดความสะดวกในการติดต่อซื้อขายระหว่างประเทศสมาชิก ภายในกลุ่ม มุ่งให้เกิดการพัฒนาและสามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศอื่นในเวทีเศรษฐกิจโลก การปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองแบบยั่งยืนตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ตรงกับหลักกูฏทันตสูตร ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่นำเอาหลักรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มาสู่การพัฒนาอย่างแยบยล ด้วยการยึดเอาหลักยุทธศาสตร์การปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขของพระเจ้ามหาวิชิตราช ตามหลักการบริหารที่พระราชทานพันธุ์พืช พระราชทานต้นทุน พระราชทานอาหาร และเงินเดือน แก่ราชการ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีเสี้ยนหนาม ไม่มีการเบียดเบียน ประชาชน มีความขยัน ไม่เป็นโจร ปล้นชิงทรัพย์ ลักขโมย เก็บภาษีอากรได้มากขึ้น อยู่อย่างไม่ต้อง ปิดประตูบ้านมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คำสำคัญ: พุทธเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์การเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจ