รูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองเพื่อพัฒนาพฤติกรรมของผู้นำท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิ

บทคัดย่อ
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบวัฒนธรรมทางการเมือง 2) ศึกษาพฤติกรรมทางการ เมือง และ 3) พัฒนากิจกรรมการพัฒนาพฤติกรรมสำหรับผนำท่องถิ่น ในจังหวัดชัยภูมิ การวิจัยนี้ เปนการวิจัย เชิงผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนใน จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม ผูใหขอมูลสำคัญ จำนวน 25 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และดำเนินการจัดกิจกรรมการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองให้กับผู้นำท้องถิ่น จำนวน 100 คน ทำการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ไคส แควร์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบทนำเสนอรายงานแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ดำเนินการพัฒนาตัวชี้วัดรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมือง 6 แบบ คือ 1) แบบคับแคบ 2) แบบไพร่ฟ้า 3) แบบมีส่วนร่วม 4 แบบคับแคบผสมแบบไพร่ฟ้า 5) แบบไพร่ฟ้าผสมแบบมีส่วนร่วม 6) แบบคับแคบผสมแบบมีส่วนร่วม แล้วนำไปศึกษากับกลุ่มเป้าหมาย และพบว่า ผู้นำทองถิ่นในจังหวัดชัยภูมิส่วน ใหญ่ มีรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองของเป็นแบบมีสวนรวม และแบบไพร่ฟ้าผสมแบบมีส่วนรวม
Scroll to Top